สิทธิประโยชน์กรณีคลอดบุตร

1. คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้เฝ้าไข้

- ผุ้เฝ้าไข้ต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา กรณีต้องการความช่วยเหลือให้กดกริ่งเรียกพยาบาล

- ไม่เก็บของมีค่าไว้กับผู้ป่วย/ในห้องพิเศษ เช่น เงิน เครื่องประดับ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ หากสูญหายทางโรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบ กรณีที่มีความจำเป็น กรุณาฝากสิ่งของดังกล่าวไว้กับพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย หรือพยาบาลหัวหน้าเวร

- งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา/ของมึนเมา ภายในโรงพยาบาล

- กรุณาลดเสียงดัง เนื่องจากผู้ป่วยต้องการพักผ่อน

- ไม่อนุญาตให้ประกอบอาหารในห้องพักผู้ป่วย

- การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ขอให้ใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. คุณสมบัติของผู้เฝ้าไข้

- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี)

- ต้องมีสุขภาพแข็งแรงและสภาวะจิตปกติ สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและทีมการพยาบาลได้ สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในเบื้องต้น

- กรณีเป็นผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) หรือมีโรคประจำตัว ต้องไม่อยู่ในระยะเจ็บป่วยหรือระยะพักฟื้น

สิทธพิเศษผู้ประกันตนที่เลือก รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์

*สิทธิพิเศษด้านการรักษาพยาบาล
 

*สิทธิพิเศษค่าห้องพัก
 

*สิทธิพิเศษสำหรับสถานประกอบการ
 

*บริการอื่น ๆ
 

หากท่านมีข้อสงสัยประการใดโปรดติดต่อฝ่ายประกันสังคมของ โรงพยาบาลสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ โทร. 0 3824 5926 ในเวลาราชการ
รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ ยังรับผู้ประกันตนอีกเป็นจำนวนมาก

 


ข้อมูล Update 10/03/2564

พระราชบัญญัติประกันสังคม

1. คำแนะนำแก่ผู้ป่วยและผู้เฝ้าไข้

- ผุ้เฝ้าไข้ต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอดเวลา กรณีต้องการความช่วยเหลือให้กดกริ่งเรียกพยาบาล

- ไม่เก็บของมีค่าไว้กับผู้ป่วย/ในห้องพิเศษ เช่น เงิน เครื่องประดับ โทรศัพท์มือถือ ฯลฯ หากสูญหายทางโรงพยาบาลจะไม่รับผิดชอบ กรณีที่มีความจำเป็น กรุณาฝากสิ่งของดังกล่าวไว้กับพยาบาลหัวหน้าหอผู้ป่วย หรือพยาบาลหัวหน้าเวร

- งดสูบบุหรี่และดื่มสุรา/ของมึนเมา ภายในโรงพยาบาล

- กรุณาลดเสียงดัง เนื่องจากผู้ป่วยต้องการพักผ่อน

- ไม่อนุญาตให้ประกอบอาหารในห้องพักผู้ป่วย

- การใช้เครื่องใช้ไฟฟ้า ขอให้ใช้ตามความจำเป็นและเหมาะสม

2. คุณสมบัติของผู้เฝ้าไข้

- เป็นผู้บรรลุนิติภาวะ (อายุไม่ต่ำกว่า 18 ปี)

- ต้องมีสุขภาพแข็งแรงและสภาวะจิตปกติ สามารถสื่อสารกับผู้ป่วยและทีมการพยาบาลได้ สามารถช่วยเหลือผู้ป่วยได้ในเบื้องต้น

- กรณีเป็นผู้สูงอายุ (อายุมากกว่า 60 ปี) หรือมีโรคประจำตัว ต้องไม่อยู่ในระยะเจ็บป่วยหรือระยะพักฟื้น

1. กองทุนเงินทดแทนคืออะไร
กองทุนเงินทดแทน เป็นกองทุนตามพระราชบัญญัติเงินทดแทน พ.ศ.2537 เพื่อเป็นทุนในการจ่ายเงินทดแทนให้แก่ลูกจ้างแทนนายจ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย หรือเจ็บป่วย หรือถึงแก่ความตาย หรือสูญเสียเนื่องจากการทำงานให้นายจ้าง
2. ใครเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบ และผู้ได้รับประโยชน์
นายจ้างเป็นผู้มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทนเพียงฝ่ายเดียว เพียงปีละ ๑ ครั้ง มีลักษณะเหมือนเบี้ยประกัน และเมื่อลูกจ้างทำงานให้แก่นายจ้างเล้วเกิดประสบอันตราย ลูกจ้างก็จะมีสิทธิได้รับเงินทดแทนจากกองทุนเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วยค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงาน และค่าทำศพ
3. เงินสมทบ คืออะไร
เงินสมทบ คือเงินที่นายจ้างจ่ายสมทบเข้ากองทุนเงินทดแทน ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะทำการเรียกเก็บจากนายจ้างเป็นรายปี โดยแจ้งจำนวนเงินที่นายจ้างต้องจ่ายให้ทราบตามใบแจ้งเงินสมทบ เงินสมทบนี้จะคิดจากค่าจ้างที่นายจ้างจ่ายให้แก่ลูกจ้างทั้งปีรวมกัน คูณกับอัตราเงินสมทบของประเภทกิจการนั้นซึ่งนายจ้างแต่ละประเภทจะจ่ายในอัตราเงินสมทบหลักที่ไม่เท่ากัน ระหว่างอัตรา 0.2 % - 1.0 % ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับการเสี่ยงภัยตามลักษณะงานของกิจการของนายจ้าง นายจ้างต้องจ่ายเงินสมทบตามอัตราหลัก 4 ปี ติดต่อกันและในปีที่ 5 เป็นต้นไป จะมีการคำนวฯอัตราส่วนการสูญเสียเพิ่มลด -เพิ่ม อัตราเงินสมทบให้นายจ้าง
4. นายจ้างในกิจการใดบ้าง มีหน้าที่ต้องจ่ายเงินสมทบ
นายจ้างในทุกประเภทกิจการและทุกท้องที่ทั่วราชอาณาจักร ที่มีลูกจ้างตั้งแต่ 10 คน ขึ้นไป มีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน และนายจ้างผู้ใดมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบกองทุนแล้วยังคงมีหน้าที่จ่ายเงินสมทบต่อไป แม้ว่าภายหลังจะมีลูกจ้างไม่ถึง 10 คนก็ตาม
5. กำหนดเวลายื่นแบบขึ้นทะเบียน
นายจ้างจะต้องมีหน้าที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียนกองทุนเงินทดแทนภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 10 คน
6. สถานที่ยื่นแบบขึ้นทะเบียน
กำหนดให้นายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ ณ ท้องที่ ที่สถานประกอบการตั้งอยู่
ในเขตกรุงเทพมหานคร ยื่นได้ที่ สำนักงานประกันสังคมพื้นที่ 1 (ดินแดง) เขตพื้นที่ 2 (เขตบางขุนเทียน) เขตพื้นที่ 3 (รามอินทรา) เขตพื้นที่ 4 (คลองเตย) เขตพื้นที่ 5 (ประชาชื่น) เขตพื้นที่ 6 (ธนบุรี) และเขตพื้นที่ 7 (พระนคร)
ในเขตต่างจังหวัด ยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่สำนักงานประกันสังคมจังหวัด
7. เอกสารอะไรบ้างที่ต้องนำมาในวันยื่นแบบ
เอกสารที่นายจ้างจะต้องนำมาในวันยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้แก่
แบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง (แบบ สปส.1-01) ใช้ชุดเดียวกับการขึ้นทะเบียนกองทุนประกันสังคม
สำเนาหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคล หรือสำเนาใบทะเบียนพาณิชย์
สำเนาใบทะเบียนภาษีมุลค่าเพิ่ม (แบบ ภพ.20) หรือสำเนาใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (แบบ รง.4)
แผนผังแสดงที่ตั้งของสำนักงาน หรือโรงงานของนายจ้าง
8. ใครจะเป็นผู้ยื่นแบบขึ้นทะเบียน
นายจ้างจะมายื่นแบบขึ้นทะเบียนด้วยตนเอง หรือมอบอำนาจให้บุคคลอื่นมาทำการแทนได้โดยทำหนังสือมอบอำนาจติดอากรแสตมป์ 30 บาท แนบสำเนาบัตรประชาชน ของผู้มอบและผู้รับมอบอำนาจ
9. หากนายจ้างมีสำนักงานหลายสาขาจะยื่นแบบขึ้นทะเบียนได้ที่ไหน
นายจ้างที่มีสำนักงานสาขา หรือมีลูกจ้างทำงานในหลายจังหวัด จะต้องยื่นแบบขึ้นทะเบียน และจ่ายเงินสมทบกองทุนเงินทดแทน รวมกันเพียงแห่งเดียว ณ เขตท้องที่ ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของสำนักงานใหญ่ โดยแจ้งรายละเอียดสถานที่ตั้งและจำนวนลูกจ้างรวมของสาขาไว้ด้วย
10. เมื่อนายจ้างยื่นแบบขึ้นทะเบียนแล้ว จะได้รับอะไรเป็นหลักฐาน
1. เลขที่บัญชี ซึ่งจะเป็นเลขเดียวกับกองทุนประกันสังคม เพื่อใช้อ้างอิงในการติดต่อ
2. ใบแจ้งเงินสมทบ เพื่อแจ้งให้นายจ้างทราบถึงจำนวนเงินสมทบที่จะต้องจ่ายเข้ากองทุน พร้อมทั้งกำหนดวันที่ซึ่งนายจ้างจะต้องนำเงินมาจ่าย
11. นายจ้างจะต้องจ่าย เงินสมทบประจำปีเมื่อใด
กองทุนเงินทดแทนจะเรียกเก็บเงินสมทบจากนายจ้างเป็นรายปี (ปีละ 1 ครั้ง) โดยในปีแรก นายจ้างจะต้องจ่ายเงินสมทบภายใน 30 วัน นับแต่วันที่มีลูกจ้างครบ 10 คน สำหรับปีต่อๆ ไป จ่ายภายในเดือน มกราคมของทุกปี เงินสมทบที่เรียกเก็บเมื่อต้นปีนั้น คิดมาจากจำนวนเงินค่าจ้างที่ได้ประมาณการไว้ล่วงหน้าซึ่งอาจไม่เท่ากับค่าจ้างจริงที่จะเกิดขึ้นเนื่องจากในระหว่างปี นายจ้างอาจมีการเพิ่มหรือลดจำนวนลูกจ้างปรับอัตราค่าจ้างเป็นต้น ดังนั้นในเดือนกุมภาพันธ์ ของทุกปีจึงให้นายจ้างแจ้งจำนวนค่าจ้างรวมทั้งปี มายังสำนักงานอีกครั้งหนึ่ง เพื่อจะได้นำไปเปรียบเทียบกับเงินสมทบที่เก็บไว้เมื่อต้นปี หากเงินสมทบที่เก็บไว้เดิมน้อยกว่าก็จะเรียกเก็บเพิ่ม ภายใน 31 มีนาคม หากจำนวนเงินค่าจ้างรวมทั้งปีต่ำกว่าเดิมนายจ้างจะได้รับเงินสมทบส่วนที่จ่ายเกินไว้คืนไป
12. วิธีการจ่ายเงินสมทบ
นายจ้างจะชำระเงินสมทบด้วยเงินสด เช็ค ดร๊าฟ หรือ ธนาณัติ หรือชำระผ่านธนาคารกรุงไทย จำกัด ทุกสาขา
13. เมื่อใดที่ลูกจ้างมีสิทธิได้รับการคุ้มครอง
สิทธิจะเกิดขึ้นทันทีเมื่อนายจ้างมีลูกจ้างครบ 10 คน ซึ่งนายจ้างมีหน้าที่จะต้องขึ้นทะเบียน ภายใน 30 วัน ตามกฎหมายกำหนด
14. การประสบอันตรายเนื่องจากการทำงานหมายความว่าอย่างไร
หมายความว่า การที่ลูกจ้างได้รับบาดเจ็บ หรือสูญเสียอวัยวะส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย หรือมีผลกระทบแก่จิตใจ หรือทุพพลภาพ หรือตาย หรือสูญเสีย เนื่องจาก การทำงานให้นายจ้าง
15. การเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงานหมายความว่าอย่างไร
การที่ลูกจ้างป่วยด้วยโรคซึ่งเกิดขึ้นตามลักษณะ หรือ สภาพของงานหรือเนื่องจากการทำงาน
16. สูญหายหมายความว่าอย่างไร
การที่ลูกจ้างสูญหายไปในระหว่างการทำงานหรือปฏิบัติงานตามคำสั่งของนายจ้าง รวมตลอดถึงหายไปในระหว่างการเดินทางโดยพาหนะทางบก ทางอากาศหรือทางน้ำ ซึ่งมีเหตุอันควรเชื่อว่า พาหนะนั้นประสบเหตุอันตรายและลูกจ้างตาย แต่ทั้งนี้ ต้องเป็นระยะเวลาไม่น้อยกว่า 120 วัน
17. เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายหรือเจ็บป่วยเนื่องจากการทำงาน จะได้รับอะไรบ้าง
ได้รับเงินทดแทน ซึ่งประกอบด้วย ค่ารักษาพยาบาลค่าทดแทนรายเดือน ค่าฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานและค่าทำศพ
18. ค่ารักษาพยาบาลได้แก่อะไร
ได้แก่ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการรักษาพยาบาลเท่าที่จ่ายจริงตามความจำเป็น ไม่เกินสามหมื่นห้าพันบาท ต่อการเจ็บป่วยหรือประสบอันตราย 1 ครั้ง หากเกินกว่าสามหมื่นห้าพันบาท ให้เบิกเพิ่มตามหลักเกณฑ์ที่กำหนด อีกไม่เกินห้าหมื่นบาท
19. กรณีแพทย์ให้หยุดพักรักษาตัว จะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาล และค่าทดแทนจำนวน 60 % ของค่าจ้างรายเดือน หากต้องหยุดพักรักษาตัวติดต่อกันเกิน 3 วัน ขึ้นไป แต่ไม่เกิน 1 ปี
20. กรณีสูญเสียอวัยวะจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาล ค่าทดแทนจำนวน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนในการหยุดพักรักษาตัว และค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือน ในการสูญเสียอวัยวะ ไม่เกิน 10 ปี กรณีที่ลูกจ้างจำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟู จะได้รับค่าฟื้นฟูดังนี้
ค่าใช้จ่ายในการฟื้นฟูด้านการแพทย์ และอาชีพเท่าที่จ่ายจริง ไม่เกิน 20,000 บาท
ค่าใช้จ่ายในการผ่าตัดเพื่อประโยชน์ในการฟื้นฟูสมรรถภาพในการทำงานไม่เกิน 20,000 บาท
21. กรณีทุพพลภาพจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่ารักษาพยาบาลและค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลาไม่เกิน 15 ปี
22. กรณีถึงแก่ความตาย หรือสูญหายจะได้รับประโยชน์อะไรบ้าง
ได้รับค่าทำศพเป็นเงิน 100 เท่า ของอัตราสูงสุดของค่าจ้างขั้นต่ำรายวันและค่าทดแทน 60 % ของค่าจ้างรายเดือนเป็นเวลา 8 ปี
23. ค่าทดแทนจะได้รับเมื่อไรและอย่างไร
ค่าทดแทน กรณีหยุดงาน สูญเสียอวัยวะ ทุพพลภาพ ตาย หรือสูญหาย จะได้รับในอัตราที่ต้องไม่ต่ำกว่า2,000 บาท และไม่เกิน 9,000 บาท ต่อเดือน
24. ถ้าลูกจ้างตายหรือสูญหาย ใครเป็นผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทน
ผู้มีสิทธิได้รับเงินทดแทนได้แก่
1. บิดา มารดา
2. สามี / ภรรยา
3. บุตรที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี
4. บุตรที่ทุพพลภาพ หรือจิตฟั่นเฟือน ไม่สมประกอบ และอยู่ในความอุปการะของลูกจ้าง
5. หากไม่มีบุคคลดังกล่าวข้างต้น ให้ผู้อยู่ในความอุปการะของลูกจ้าง เป็นผู้มีสิทธิ เป็นผู้มีสิทธิ
25. นายจ้างต้องปฏิบัติอย่างไรบ้าง เมื่อลูกจ้างประสบอันตราย
จัดให้ลูกจ้างได้รับการรักษาพยาบาลทันที และแจ้งเจ้าหน้าที่ ภายใน 15 วัน นับแต่วันที่ทราบลูกจ้างสามารถเข้ารับการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลใดก็ได้โดยทดรองจ่ายค่ารักษาพยาบาลไปก่อน หรือใช้แบบ กท.44 ส่งตัวลูกจ้างเข้ารับการรักษา หากโรงพยาบาลนั้นเป็นโรงพยาบาลในความตกลงกับกองทุนเงินทดแทน
26. การแจ้งการประสบอันตราย ทำโดยวิธีใดบ้าง
แจ้งตามแบบ กท. 16 โดยนายจ้างหรือผู้ที่ได้รับมอบอำนาจ และต้องแจ้งภายใน 15 วัน
27. สถานที่รับแจ้งการประสบอันตรายอยู่ที่ไหน
ในเขตกรุงเทพ ฯ แจ้งที่
1. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 1 บริเวณกระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม อาคาร 11 ชั้น 1 ถนนมิตรไมตรี เขตห้วยขวาง กรุงเทพฯ 10400 โทรศัพท์ 245-4101,245-3148,245-0868,245-3283,245-0858,245-3577 (สำหรับสถานประกอบการในเขตห้วยขวาง ดินแดง พญาไท ราชเทวี และปทุมวัน)
2. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 2 เลขที่ 93-93ฝ1-4 ถนนพระราม 2 แขวงแสมดำ เขตบางขุนเทียน กรุงเทพ ฯ 10500 โทรศัพท์ 415-0533,415-0544,415-0470,415-1618 โทรสาร 415-8488 (สำหรับสถานประกอบการในเขตบางขุนเทียน บางบอน จอมทอง ภาษีเจริญ บางแค หนองแขม ราษฎร์บูรณะ ทุ่งครุ ตลิ่งชัน ทวีวัฒนา และบางพลัด)
3. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 3 เลขที่ 7/18-21 ถนนรามอินทรา แขวงคันนายาว เขตบึงกุ่ม กรุงเทพฯ 10220 โทรศัพท์ 509-2262,510-0313,510-0946,510-1699,510-1793,510-2078 โทรสาร 509-1113 (สำหรับสถานประกอบการในเขตหนองจอก มีนบุรี คลองสามวา ลาดกระบัง บึงกุ่ม คันนายาว สะพานสูง บางเขน สายไหม ลาดพร้าว ดอนเมือง หลักสี่ วังทองหลาง และบางกะปิ)
4. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 4 เลขที่ 222 ถนนสุขุมวิท 77 (อ่อนนุช 2 ) แขวงพระโขนง เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110 โทรศัพท์ 311-6507-9,311-6527-8 โทรสาร 311-0580 (สำหรับสถานประกอบการในเขตคลองเตย วัฒนา สวนหลวง ประเวศ บางนา และพระโขนง)
5. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่ 5 เลขที่ 812/18 -20 ถนนประชาชื่น แขวงบางซื่อ เขตจตุจักร กรุงเทพมหานคร 10800 โทรศัพท์ 587-5496,587-4828,585-0115,585-2762,585-7017,585-7015 (สำหรับสถานประกอบการในเขตดุสิต ป้อมปราบศัตรูพ่าย พระนคร จตุจักร บางซื่อ และสัมพันธวงศ์)
6. สำนักงานประกันสังคมเขตพื้นที่6
เลขที่ 311 ถนนรัชดาท่าพระ แขวงบุคคโล เขตธนบุรี กรุงเทพฯ 10600 (โทรศัพท์ 476-9016-19,476-9984-87,468-8776-77 (สำหรับสถานประกอบการในเขตธนบุรี บางคอแหลม ยานนาวา คลองสาน บางรัก สาทร บางกอกใหญ่ และบางกอกน้อย)
7. ในเขตต่างจังหวัด แจ้งที่
สำนักงานประกันสังคมจังหวัด มีข้อสงสัย สอบถาม โทร. 1506
28. ลูกจ้างจะเข้ารับการรักษาที่ใดได้บ้าง
สถานพยาบาลทุกแห่ง ที่มีแพทย์แผนปัจจุบัน ชั้น 1 เป็นผู้ทำการรักษา
29. จะเบิกค่ารักษาพยาบาลได้อย่างไร
ให้นำใบเสร็จรับเงินมาเบิกคืนได้ภายใน 90 วัน นับแต่วันที่จ่ายแต่ถ้าทำการรักษาพยาบาลในสถานพยาบาลที่ทำความตกลงกับกองทุน สถานพยาบาลนั้นจะเรียกเก็บเงินจากกองทุนโดยตรง
30. เมื่อมารับเงินใช้หลักฐานอะไรบ้าง
บัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรอื่นที่ทางราชการออกให้ ซึ่งมีรูปถ่ายด้วย หากไม่ได้มารับด้วยตนเองจะต้องมีใบมอบฉันทะพร้อมทั้งบัตรประจำตัวประชาชนของผู้มอบและผู้รับมอบมาแสดงด้วย
31. นายจ้างที่มีลูกจ้างต่ำกว่า 10 คน ต้องปฏิบัติตนอย่างไร
ไม่ต้องจ่ายเงินสมทบ แต่เมื่อลูกจ้างประสบอันตรายเนื่องจากการทำงาน ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่กองทุนเงินทดแทน เพื่อออกคำสั่งให้นายจ้างจ่ายเงินทดแทนแก่ลูกจ้างตามสิทธิ เช่นเดียวกับที่กองทุนเงินทดแทนจ่าย

แผนกสิทธิบริษัทประกันชีวิตและคู่สัญญา

สำนักงานสิทธิประโยชน์ ฝ่ายการเงิน รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ กรมแพทย์ทหารเรือ

 

ปฏิบัติงานเกี่ยวกับสิทธิความคุ้มครองด้านประกันชีวิต ประกันภัย(อุบัติเหตุ) และบริษัทเอกชน ที่ขอเปิดทำข้อตกลง กับ งานคู่สัญญา รพ.สมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พร. เพื่อขอใช้เครดิต ด้านค่ารักษาพยาบาลกับ รพ. ฯ ทั้งในกรณีผู้ป่วยนอกและผู้ป่วยใน

งานคู่สัญญาหรืองานคู่ตกลง

          (กรณีOPD) เป็นภาระงานที่เกี่ยวข้องกับงานตรวจสอบและออกสิทธิคู่สัญญา เพื่ออนุมัติวงเงินให้การรักษาพยาบาลแก่พนักงานและบุคคลในครอบครัวผู้ซึ่งมีสิทธิได้รับเครดิตด้านค่ารักษาพยาบาล (ผู้ทำประกันสุขภาพรายกลุ่ม/รายเดี่ยว/ประกันอุบัติเหตุ(ประกันโรงเรียน) หรือเป็นสมาชิกของบริษัทเอกชน) ซึ่งบริษัทนั้นๆ เป็นผู้ออกสิทธิบัตรประจำตัวให้แก่บุคคลดังกล่าว ข้างต้น

(กรณีIPD) เมื่อหอผู้ป่วยสรุปจำหน่ายผู้ป่วยแล้ว ต้องส่งประวัติเพื่อให้แผนกงานคู่สัญญาดำเนินการ Fax claim หรือ Scanส่งทาง E-mail กับฝ่ายสินไหมของบริษัทนั้น ๆ ซึ่งใช้เวลาประมวลผลและตอบกลับนาน 1-2 ชม.
      โทร. 038-245735-69 ต่อ 69055  แผนกสิทธิบริษัทประกันชีวิตและคู่สัญญา